Health

  • ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever)
    ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever)

    ไข้ไทฟอยด์ ไทฟอยด์, หรือไข้รากสาดน้อย (ภาษาอังกฤษ : Typhoid fever) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่มและอาหาร ผู้ป่วยจะมีไข้ในแต่ละวันสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นอาการเด่น ร่วมกับมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสียถ่ายเหลว

    จุดสำคัญของ ไข้ไทฟอยด์ คือ ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้ และผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

    ไข้ไทฟอยด์

    อาการของโรคไข้ไทฟอยด์

    – มีไข้ต่ำ ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน อาจพุ่งสูงถึง 40.5 องศาเซลเซียสได้

    – ปวดศีรษะ

    – ไอแห้ง ๆ

    – เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

    – ปวดเมื่อยตามร่างกาย

    – อ่อนเพลีย เซื่องซึม

    – เหงื่อออก

    – ผื่นขึ้นท้อง หรือหน้าอก

    – ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก

    สาเหตุของไข้ไทฟอยด์

    เกิดจากการติดเชื้อไทฟอยด์ ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ซัลโมเนลลาไทฟิ” (Salmonella typhi) ซึ่งเชื้อชนิดนี้พบได้เฉพาะในคน

    ความอันตรายของโรคไข้ไทฟอยด์

    ตามปกติแล้วผู้ป่วยโรคไข้ไทฟอยด์สามารถหายได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะจากแพทย์ แต่หากมีอาการรุนแรง หรือถึงมือแพทย์ช้า อาจเสี่ยงอาการแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร หรือลำไส้ทะลุ ไข้สูงจนเป็นพิษ จนช็อกและอาจเสียชีวิตได้

    โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

    – ปอดบวม

    – เยื่อบุหัวใจอักเสบ

    – กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

    – ตับอ่อนอักเสบ

    – เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    – เกิดการติดเชื้อในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ

    – เกิดปัญหาทางจิต เช่น อาการเพ้อคลั่ง อาการประสาทหลอน และโรคจิตหวาดระแวง

    การรักษาโรคไข้ไทฟอยด์

    หากพบแพทย์แล้ว ผู้ป่วยที่อาการไม่หนักจะได้รับยาไปรับประทานที่บ้าน รายที่มีอาการหนัก เช่น ไข้สูงมาก อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียหนักมาก ฯลฯ ก็จะแนะนำให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

    ที่มา

    medthai.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ francomurer.com

     

Economy

  • แจงสี่เบี้ยข้อดี “บัตรเหมาจ่าย”
    แจงสี่เบี้ยข้อดี “บัตรเหมาจ่าย”

    แจงสี่เบี้ยข้อดี “บัตรเหมาจ่าย”

    นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยหลังร่วมกันเปิดโครงการบัตรเหมาจ่าย TRANSIT PASS RED LINE BKK X BMTA หรือบัตรเหมาจ่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงกับรถโดยสาร (รถเมล์) ของ ขสมก.

    ร่วมกับนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ว่า รฟท.ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมด้วยการพัฒนาบัตรเหมาจ่ายไปสู่ระบบตั๋วร่วมสมบูรณ์แบบที่เชื่อมต่อการเดินทางทุกระบบด้วยตั๋วร่วมเพียงหนึ่งใบ

    นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กล่าวว่า บัตรเหมาจ่ายได้ทดลองใช้บริการผ่านระบบ EMV Contactless โดยใช้บัตรเหมาจ่ายในการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถเมล์ ขสมก. ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีแดงนั่งได้ถึง 50 เที่ยว หรือ 30 วันต่อเดือน ส่วนรถเมล์ ขสมก.นั่งได้แบบไม่จำกัดตลอด 30 วัน บัตรใบนี้มีมูลค่าต่อเดือน 2,000 บาท.

    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : francomurer.com